กิจกรรมที่ 20-24 ธ.ค. 53

ส่งงาน



ตอบ 3.
 อธิบาย
         พลังงานทั้งหลายในระบบนิเวศนี้เกิดจากแสงอาทิตย์ พลังงานแสงถูกถ่ายทอดโดยเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์ สะสมไว้ในสารอาหาร ซึ่งเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง แล้วถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้บริโภคลำดับต่างๆ ในระบบนิเวศ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนในรูปแบบที่เรียกว่า สายใยอาหาร (food web)

    ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน

เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จึงมีการใช้เครื่องหมายต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยรวมกัน

+ หมายถึง การได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง
- หมายถึง การเสียประโยชน์ให้อีกฝ่ายหนึ่ง
0 หมายถึง การไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ไม่เสียประโยชน์
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. การได้รับประโยชน์ร่วมกัน (mutualism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองชนิด ใช้สัญลักษณ์ +, + เช่น
• แมลงกับดอกไม้ แมลงดูดน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร และดอกไม้ก็มีแมลงช่วยผสมเกสร
• นกเอี้ยงกับควาย นกเอี้ยงได้กินแมลงต่าง ๆ จากหลังควาย และควายก็ได้นกเอี้ยงช่วยกำจัดแมลงที่มาก่อความรำคาญ
• มดดำกับเพลี้ย เพลี้ยได้รับประโยชน์ในการที่มดดำพาไปดูดน้ำเลี้ยงที่ต้นไม้ และมดดำก็จะได้รับน้ำหวาน
• ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล (sea anemore) ปูเสฉวนอาศัยดอกไม้ทะเลพรางตัวจากศัตรูและยังอาศัยเข็มพิษจากดอกไม้ทะเลป้องกันศัตรู ส่วนดอกไม้ทะเลก็ได้รับอาหารจากปูเสฉวนที่กำลังกินอาหารด้วย
• ไลเคน (lichen) คือ การดำรงชีวิตร่วมกันของรากับสาหร่าย ซึ่งเป็นการอยู่แบบที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดต่างก็ได้รับประโยชน์ สาหร่ายมีสีเขียวสร้างอาหารเองได้โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา ส่วนราได้รับธาตูอาหารจากสาหร่าย ได้แก่ ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจน นอกจากนั้นราบางชนิดอาจสร้างสารพิษ ซึ่งป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นกินไลเคนเป็นอาหาร และรายังสร้างกรดช่วยในการละลายหินและเปลือกไม้ ช่วยในการละลายหินและเปลือกไม้ ทำให้ไลเคนดูดซับธาตุอาหารได้ดี
     ความสัมพันธ์แบบ mutalism ระหว่างราและสาหร่าย
• แบคทีเรียไรโซเบียม (Rhizobium) ในปมรากพืชวงศ์ถั่ว ตรึงไนโตรเจนจากอ ากาศให้แก่รากถั่ว ในขณะเดียวกันแบคทีเรียก็ได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ แร่ธาตุจากต้นถั่ว 
        ปมรากถั่วซึ่งภายในมีแบคทีเรียไรโซเบียม





ตอบ 2.
อธิบาย
วัฏจักรของสาร (Biogeochemical cycle)หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสารหนึี่งไปอีกสารหนึ่ง
โดยการ เปลี่ยนแปลง ของสารจากสารหนึ่ง ไปยังอีกสารหนึ่ง โดยการเปลี่ยนตำแหน่งจากแหล่งหนึ่งไปยัง
อีกแหล่ง หนึ่งหรือจากสิ่งมีชีวิตชนิดชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง แต่ในที่สุดจะหมุนเวียนกลับไปยัง
สภาพเดิมอีก เช่น ออกซิเจนมีอยู่ตามแหล่งต่างๆ ทั่วไป
        ออกซิเจนมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรโดยเริ่มจากพืชสร้างออกซิเจน โดยใช้้พลังงานแสงและ
คลอโรฟิลล์เ่ช่นเีดียวกับสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืช จะได้สารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารอาหาร
จากการสังเคราะห์ด้วยแสง
         จากนั้นสาหร่ายและสัตว์ต่างมีการถ่ายทอดอาหารและ พลังงานในรูปของห่วงโซ่อาหาร สัตว์
์ และพืช เมื่อหายใจออกจะปล่อยคาร์บอนออกมาในรูปของสาร ประกอบคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงอีกครั้ง
วัฏจักรของสารหรือการหมุนเวียนของสาร เป็นการหมุนเวียนจากสิ่งไม่มีชีวิตผ่านสิ่งมีชีวิตแล้วหมุนเวียน
กลับคืนสู่ธรรมชาติดังเดิม  องค์ประกอบตามธรรมชาติว่าด้วย สิ่งมีชีวิต ดำรงชีวิตโดยใช้แร่ธาตุ
และสารจากสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะพบแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ตามธรรมชาติ ในรูปของสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์
โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัฏจักรของสารได้ดังนี้
1.  Hydrologic cycle  หมายถึง วัฏจักรของน้ำ 

2.  Gaseouscycle หมายถึง วัฏจักรการเคลื่อนย้ายวัตถุที่แหล่งสำรองในบรรยากาศและทะเล
               เช่น วัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรออกซิเจน และวัฏจักไนโตรเจน3.  Sedimentary cycle  หมายถึง    วัฏจักรการเคลื่อนย้ายธาตุที่มีแหล่งสำรองในพื้นดินใน
               รูปของแข็งสู่วัฏจักรเมื่อมีการผุกร่อน เช่น วัฏจักรฟอสฟอรัส วัฏจักรแคลเซียม วัฏจักรซัลเฟอร์



ตอบ 3.
อธิบาย
นการตรวจสอบมลพิษทางน้ำต้องศึกษาคุณภาพของน้ำ เพื่อจัดจำแนกน้ำว่ามีคุณภาพระดับใด จึงจำเป็นต้องมีดัชนีหรือตัวชี้วัด
ในการจัดจำแนก ดังนี้
                       1. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านชีววิทยา( Biological quality ) ได้แก่ปริมาณจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในน้ำ เช่น แบคทีเรียกลุ่ม
โคลิฟร์อม หรือ ฟิคัลโคลิฟร์อม
                       2. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านเคมี ( Chemical quality ) ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ( Dissolved Oxygen : DO )
ความสกปรกอยู่ในรูปของอินทรีย์สาร ( Biological Oxygen Demand : BOD ) ความเป็นกรดด่าง ( pH ) ของธาตุและสารประกอบต่างๆ ในน้ำ
                       3. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านกายภาพ ( Physical quality ) ได้แก่ ลักษณะของ สี กลิ่น ความขุ่น อุณหภูมิ การนำไฟฟ้า
สารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำ ฯลฯ

ความสกปรกในรูปของอินทรีย์สาร หรือ บีโอดี ( Biochemical oxygen demand : BOD)
                          บีโอดี หมายถึง ปริมาณออกซิเจน ที่จุลินทรีย์ในน้ำใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ตามมาตรฐานสากลจะวัดค่า BOD ภายในเวลา 5 วัน ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จึงเรียกว่า BOD 5 ในแหล่งน้ำใดถ้ามีค่า BOD สูง แสดงว่าน้ำนั้นเน่าเสียและสกปรกมาก ค่าบีโอดีที่เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพของน้ำดังตารางที่ 2
                         การที่มีปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงเนื่องจากจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ในการหายใจเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณ
เพิ่มขึ้น การหายใจของจุลินทรีย์ดังกล่าวทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง หากจุลินทรีย์มีปริมาณมากขึ้นก็จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำ
ลดลงตามลำดับ การหาค่า BOD จึงเป็นการวัดหาค่าออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำที่สามารถนำไปใช้ซึ่งหมายความว่า
ปริมาณจุลินทรีย์มากน้อยเพียงใด ดังนั้นน้ำที่มีค่า BOD สูง แสดงว่าปริมาณสารอินทรีย์มีมากกว่าน้ำที่มีค่า BOD ต่ำ
                        องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า BOD ในน้ำที่มีคุณภาพดีหรือมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดค่า BOD ของน้ำตามมาตรฐานของน้ำทิ้งจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมไว้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะมีค่า BOD เท่ากับ 0-1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนน้ำที่มีคุณภาพเลวมากจะมีค่า BOD เท่ากับ 12 มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้นไป 

ที่มา 
http://www.krumonbs.ob.tc/html/043.html



ตอบ 1.
อธิบาย
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
         นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก 

ที่มา
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99

1 ความคิดเห็น: