วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554




ตอบ 2

      ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้น









  ตอบ 2

         สารละลายอุดมคติ (ideal solution) คือการที่ปฏิกิริยาระหว่าง โมเลกุล ของตัวทำละลายกระทำซึ่งกันและกันมีค่าเท่ากับปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย แล้วคุณสมบัติของสารละลายในอุดมคติสามารถคำนวณได้โดยผลรวมเชิงเส้น (linear combination) ของคุณสมบัติของส่วนประกอบของมัน
ตัวทำละลาย (solvent) ตามความหมายแบบเดิมคือ สารในสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย ถ้าทั้งตัวถูกละลายและตัวทำละลายมีปริมาณเท่ากัน (เช่น สารละลายมี เอทานอล 50% และ น้ำ 50%) คำจำกัดความเกี่ยวกับตัวทำละลายและตัวถูกละลายจะมีความสำคัญน้อยลง แต่โดยทั่วไปสารที่มีปริมาณมากกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นตัวทำละลาย






   ตอบ 4

  ผลกระทบที่มีต่อต้นไม้
นอกจากต้นไม้จะได้รับผลกระทบจากการที่สารอาหารในดินถูกชะล้างไปแล้ว ฝนกรดเหล่านี้ยังเป็นอันตรายต่อใบของพืชด้วย โดยการกัดกร่อนใบ ทำให้เกิดรูโหว่ ทำให้พืชขาดความสามารถในการผลิตอาหารจากการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis: ความสามารถในการสร้างอาหารของพืชโดยใช้น้ำ ออกซิเจน และแสงเป็นวัตถุดิบ) นอกจากนี้แล้วเชื้อโรคต่าง ๆ อาจทำอันตรายกับพืชได้โดยเข้าผ่านทางแผลที่ใบ ทำให้ต้นไม้อ่อนแอต่อสภาวะอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความร้อน ความเย็น หรือความแห้งแล้ง และสามารถทำให้ต้นไม้ยืนต้นตายจากรากขึ้นไปถึงใบ เพราะแร่ธาตุในดิน เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น โดนชะล้างจากฝนกรด ทำให้ต้นไม้ไม่มีแร่ธาตุจะใช้





  ตอบ 1


    สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Zn ประมาณร้อยละ 90 ของสังกะสี ในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยส่วนที่อยู่ในเม็ดเลือดนั้น ร้อยละ 80 อยู่ในเม็ดเลือดแดง และร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเลือด ส่วนใหญ่ของ สังกะสี ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ซึ่งเป็นผลรวมของ สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่าย สังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับ กรดอะมิโน ได้อีกด้วย ซึ่งในคนปกติจะขับถ่าย สังกะสี ออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม








ตอบ 2



ตอบ   4

เลขอะตอม (atomic number) หมายถึงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้นๆ หรือหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งวนรอบนิวเคลียสของอะตอมที่เป็นกลาง เช่น ไฮโดรเจน (H) มีเลขอะตอมเท่ากับ 1







ตอบ 3





ตอบ  4

ธาตุ อาจหมายถึง
  • ธาตุเคมี ในทางเคมี ถือเป็นองค์ประกอบของธรรมชาติส่วนที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถแยกลงได้อีก
  • ธาตุหลักทั้ง 4 ในทางปรัชญา หรือการแพทย์โบราณ หมายถึง องค์ประกอบของธรรมชาติ ส่วนที่เล็กที่สุด ถือว่ามีอยู่ในทุกสิ่ง ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิต แต่ละแนวคิดจำแนกธาตุไว้ต่างกัน ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น
  • ธาตุศัพท์ ในทางภาษาโบราณ ตระกูลอินเดีย-ยุโรป ธาตุ หมายถึง หน่วยเล็กสุดของความหมาย มักประกอบขึ้นเป็นคำกริยา หรือคำชนิดอื่นๆ
  • ธาตุ 6 ในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ช่องว่างในกาย ความรู้อะไรได้




ตอบ 0.3g/min






ตอบ   5วัน




ตอบ  50วินาที

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 15-19 พฤศจิกายน 2553


ส่งงาน
























ข้อตกลงในการเรียนด้วย Social Media ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.6 ที่ http://m6term2debsp.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จ
ม.6 ส่งที่ karnpitcha_j@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 6/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-6328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 4 รหัส ว 43282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 6
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ และการรักษาดุลยภาพของเซลล์
2. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบาย เกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ อุณหภูมิ กรด-เบสและแร่ ธาตุต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต
3. นำความรู้เรื่องการรักษาดุลยภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่น
4. สำรวจ สังเกตลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตต่างๆในท้องถิ่น ลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตหลากหลาย และจำแนกเป็นกลุ่มได้
5. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายและนำเสนอประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ และผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
6. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
7. สังเกตสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมและสร้างสถานการณ์จำลองแสดงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
9. สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างอะตอม ชนิดและจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมจาก สัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ
10. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา
11. อธิบายการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ และทำนายแนวโน้มของสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
12. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลหรือในโครงผลึกของสาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสาร ในเรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
13. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติ สารประกอบและเลขอะตอมของธาตุ