กิจกรรมที่ 13-17 ธ.ค.53




ตอบ   ข้อ 4
คำอธิบายข้อมูล :: 
พ่อ A + แม่ A = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, O
พ่อ B + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด B, O
พ่อ AB + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
พ่อ O + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด O เท่านั้น
พ่อ A + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B, AB, O
พ่อ A + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
พ่อ B + แม่ AB = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, AB, B
พ่อ AB + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B
พ่อ A + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, O
พ่อ B + แม่ O = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด B, O
พ่อ A + แม่ B = มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือด A, B, AB, 




ตอบ  ข้อ 2
คำอธบายข้อมูล :: 

การตัดต่อทางพันธุกรรมหรือการดัดแปรพันธุกรรมนั้นทำอย่างไร มีการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่

การดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต คือ การนำสารพันธุกรรม (หรือที่เรียกว่า ยีน) ที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรม
วิธีการถ่ายยีน มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ว่าเราจะถ่ายยีนเข้าสู่สิ่งมีชีวิตชนิดใด พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หลักสำคัญของการถ่ายยีนก็คือ
ยีนที่จะถ่ายเข้าไปนั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารใดปนเปื้อน เพราะสิ่งสกปรกจะลดประสิทธิภาพของการถ่ายยีน


ที่มาของข้อมูล :: http://www.pramot.com/gmo/gmoques.html





ตอบ  ข้อ 2
คำอธิบายข้อมูล :: จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง ชุดของ gene ที่มาเข้าคู่กันซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่
ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ที่สามารถแสดงออกมาให้เห็นได้ เป็นผลมาจากgenotype
ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete deominance) หมายถึง ลักษณะที่แสดงออก (phenotype)
ที่ gene เด่นสามารถข่ม gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์
ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete dominanceหมายถึง การแสดงออกของลักษณะที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากลักษณะด้อยมีอิทธิพลมากพอ สามารถแสดงลักษณะออกมาได้


ที่มาของข้อมูล :: http://www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/panthu.htm




ตอบ  ข้อ 1
คำอธิบายข้อมูล :: เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte) มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloid และส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloidแกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป 

ที่มาของข้อมูล :; http://www.snr.ac.th/m4html/w4html/bryophyta.htm     




ตอบ  ข้อ 1
คำอธิบายข้อมูล :: ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมีตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิวรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1
      สำหรับหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไว้ว่าจะต้องมีข้อมูลดังนี้
1.บอก type ว่าเป็น type A, B หรือ C
2.ชนิดของสัตว์ที่แยกเชื้อไวรัสได้ ถ้าแยกได้จากมนุษย์ไม่ต้องบอก
3.สถานที่แยกเชื้อไวรัสได้ มักเป็นชื่อเมืองหรือประเทศ
4.ลำดับของเชื้อที่แยกได้ในปีนั้น
5.ปี ค.ศ. ที่แยกเชื้อไวรัสได้

1 ความคิดเห็น: